วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรม (Software) ที่ทําหน้าที่ ควบคุมการทํางานของ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะทําหน้าที่ เป็น ตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรงและโปรแกรมการใช์งานต่าง ๆ

ความหมายของระบบปฏิบัติการ 
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า  OS (Operating System)  เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้ควบคุมและจัดสรรทรัพยากรให้กับโปรแกรมต่าง ๆ 

ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ระบบต่างๆ 
การทํางานของคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทํางานด้วยตัวเองได้ แต่จะต้องอาศัยโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานซึ่งเรียกว่า ซอฟต์แวร์” (Software) โดยทั่วไปซอฟต์แวร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โปรแกรมสําเร็จรูป และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะมีหน้าที่ ในการจัดการและควบคุมการทํางานและอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การจัดการเกี่ยวกับการแสดงผลบนจอภาพ รับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ การจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลลงแฟ้ม การติดตั้งโปรแกรม นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการยังช่วยสร้างส่วนติดต่อ ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ (User interface) ให้ง่ายต่อการใช้งาน ระบบปฏิบัติการมีอยู่หลาย ระบบ ซึ่งมีการพัฒนาจากผู้ผลิตหลายบริษัท แต่ที่สํ าคัญ ๆ มีดังนี้

1. ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System) 
ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็ระบบปฏิบัติการ
สําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วย
ความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นํ าไป
ปฏิบัติตาม โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:\>)
ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ
DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่. และปัจจุบันนี้มีการใช้งานน้อยมาก


2 .ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 
Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้
(User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic
User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่ง
ที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกัน
ซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรม
เดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํางานของ Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า หน้าต่างโดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับ
ไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์
ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอ์.ด (Clipboard) ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถ
ทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น

3. ระบบปฏิบัติการ Unix 
              Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต๋อย่างใด แต่Unix เป็น
ระบบปฏิบัติการที่ใช็เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติดกับ
ระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ ตอบสนอง
การใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser
system) และสามารถทํางานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลาย
ภารกิจ (Multitasking system)

4. ระบบปฏิบัติการ Linux 
              Linux เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ DOS, Windows หรือ Unix โดยLinuxนั้นจัด ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่ง การที่Linuxเป็นที่กล่าวขานกันมากในช่วงปี 1999 – 2000
เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมประยุกต์ที่ ทํ างานบนระบบ Linux
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX) และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็
คือ ระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ
โปรแกรม Linux นั้นมี นักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันแก้ไข ทําให้การขยายตัวของ Linux
เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยในส่วนของใจกลางระบบปฏิบัติการ หรือ Kernel นั้นจะมีการพัฒนาเป็น
รุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทํางานแบบหลายซีพียู
หรือ SMP (Symmetrical Multi Processors) ซึ่งทําให้ระบบLinux สามารถนําไปใช้สําหรับทํางาน
เป็น Saver ขนาดใหญ่ได้ระบบ Linux ตั้งแต่รุ่น 4 นั้น สามารถทํางานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือ
บนซีพียูของ อินเทล (PC Intel) ดิจิทัลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer และซันสปาร์ค
(SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่า
ขณะนี้ Linux ยังไม่สามารถแทนที่ Microsoft Windows บนพีซีหรือ Mac OS ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่
ก็มีผู้ใช้ จํานวนไม่น้อยที่สนใจมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บน Linux และเรื่องของการ
ดูแล ระบบ Linux นั้น ก็มีเครื่องมือช่วยสําหรับดําเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น
…………………………………………………………

 การเลือกระบบปฏิบัติการให้กับคอมพิวเตอร์ (OS)
ครั้งก่อน ผมพูดถึงการเลือกซื้ออุปกรณ์เพื่อนำมาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ กันไปแล้ว..ครั้งนี้ผมจะพูดถึงวิธีการประกอบกันบ้าง..แต่เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องผมจะขอพูดถึงระบบปฏิบัติการ (OS) ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์กันก่อน..
ระบบปฏิบัติการ (OS) <-- มาจาก Operating System แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ
1.Unix เป็น OS ที่ใช้สำหรับ เครื่อง Server เพราะเป็น OS ที่มีเสถียรถาพมากที่สุด ไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเพราะใช้ยากต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ขั้นสูง และไม่สนับสนุนพวก Multimedia ต่าง ๆ ปัจจุบันมี OS ที่เป็น Unix ที่พัฒนามาให้ใช้งานง่ายเหมาะสมกับผู้ใช้ทั่ว ๆ ไปเพราะจะมีลักษณะ คล้ายกับ Windows ของ Microsoft เราเรียก OS ตัวนี้ว่า Linux เป็น OS ที่สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เพราะเป็น OS ที่แจก Source code เพื่อนำไปพัฒนา ก็มีอยู่หลาย ๆ ค่ายที่นำ Linux ไปพัฒนา แต่ที่ได้รับความนิยมก็คือ Redhat Linux เพราะการใช้งานง่ายคล้าย Windows สำหรับที่เป็นภาษาไทย ตอนนี้ เนคเทค ได้พัฒนาจนสามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ..สำหรับใครที่อยากทดลองใช้ก็สามารถ down load ได้จาก http://www.nectec.or.th
2. Apple OS เป็น OS ที่ใช้สำหรับเครื่อง Max เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบ Graffic design อะไรทำนองนั้นไม่เหมาะสำหรับ User อย่างเรา ๆ หรอกครับ..
3. Windows เป็น OS ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดถึงประมาณ 90 % ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลก เพราะมีลักษณะการใช้งานที่ง่าย ไม่ต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มากนัก สนับสนุน Multimedia อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ฯลฯ Windows ในปัจจุบันมีให้เลือกใช้งานหลาย version ด้วยกัน ทั้งที่ให้เป็น Server และ Home use ทั่ว ๆ ดังนี้
>>Home use
1) Windows 3.11 เป็น OS แบบ 16 bit เป็น version แรกของ Windows ที่ใช้ทรัพยากรของระบบน้อยมาก แต่ประสิทธิภาพต่าง ๆ ที่สนับสนุนก็น้อยตามไปด้วย..
2) Windows 95 เป็น OS แบบ 32 bit พัฒนาขีดความสามารถขึ้นมาจากเดิม มีฟีเวอร์ต่าง ๆ เพิ่มเข้ามา แต่ version นี้ยังมี bug มากไม่ค่อยเสถียรพอ..
3) Windows 98 เป็น OS แบบ 32 bit ที่พัฒนามาจาก 95 แก้ไข bug ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งสนับสนุน Multimedia อย่างสมบูรณ์ มีการนำเอา browser ยอดนิยมอย่าง IE ติดมาให้ด้วย version นี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก..
4) Windows 98 SE เป็น OS แบบ 32 bit ที่แก้ไข version 98 ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แก้ไข bug และเพิ่มฟีเวอร์ใหม่ ๆ มากมายเช่นสามารถทำเป็น Server แชร์ IP ให้กับเครื่องลูกได้ และนำเอา IE 5 ติดมาด้วย นับว่า version นี้เป็น version ที่ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุด และเสถียรภาพมากที่สุดแล้ว ในตระกูลของ Windows 98
5) Windows Me เป็น OS แบบ 32 bit ที่พัฒนามาสำหรับ Home use โดยเฉพาะ ตัดเอา Ms-Dos ออกไปเพื่อสร้างความมีเสถียรภาพให้กับระบบ สนับสนุน Multimedia สมบูรณ์แบบที่สุด..ตอนนี้ผมเองก็ลองใช้อยู่ครับ..ยอมรับว่าดีมาก ๆ ไม่ค่อยมีปัญหาเหมือน 98 ที่ผ่านมาครับ..
>>Server
1) Windows NT4 มีความเสถียรถาพสูงทำงาน เป็น Srever การใช้งานผู้ใช้ต้องมีความรู้พอสมควรเพราะลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Unix แต่จะมีระบบ Graffic ที่ดีกว่า..
2) Windows 2000 เป็น OS ที่เป็น NT พัฒนามาจาก NT4 มีความเสถียรภาพสูง และรองรับ Multimedia ใช้เป็น Server สนับสนุนการใช้งานแบบ Multi user มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม..มี 2 version ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม..
" พูดถึง Windows ผมก็อยากที่จะให้ทุก ๆ ท่านมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Windows 98 กับ Windows 2000 ว่าจริง ๆ แล้วลักษณะการใช้งานแตกต่างกัน ดังที่ผมได้พูดไว้แล้ว..บางท่านยังเข้าใจผิดว่า Windows 2000 เป็น version ใหม่ล่าสุดที่มาแทนที่ Windows 98 SE เวลาจะซื้อเครื่องก็มักจะถามว่า เป็น Windows 2000 หรือเปล่า..อะไรทำนองนี้ ผมก็อยากให้ท่านทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยนะครับ..ตอนนี้ที่เหมาะสำหรับ User ทั่ว ๆ ไป ก็คือ Windows 98 SE ครับ..ดีที่สุดแล้ว.."
………………………………………………………………………………………….

ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการ นี่นะครับ ก็หมายถึง ชุดของโปรแกรมที่อยู่ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ครับ จะมีหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานของฮาร์ดแวร์ และสนับสนุนคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ประยุกต์ครับ ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการนะครับ ก็ได้แก่ MS - DOS , UNIX , LINUX , Windows Me , Windows XP เหล่านี้เป็นต้นครับ ระบบปฏิบัติการนี้นะครับจะทำงานอยู่เบื้องหลังของผู้ใช้ครับ โดยระบบปฏิบัติการนี้ก็มีหน้าที่หลักๆ ดังนี้ครับ  
อันแรกนี้ก็คือการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ครับ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง ที่เก็บข้อมูลสำรอง หน่วยความจำ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้นครับ
อันที่สองนี้นะครับก็คือจัดการในส่วนของการติดต่อกับผู้ใช้ครับ
และในข้อนี้ก็ไดแก่ให้บริการโปรแกรมประยุกต์อื่นครับ เช่น และการแสดงผล เป็นต้น โดยปกติแล้วโปรแกรมประยุกต์จะต้องทำงานผ่านระบบปฏิบัติการครับ
ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานในปัจจุบันนี้นะครับ จะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์ครับ เพราะสามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วด้วยครับ ถึงแม้คนที่ไม่ความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เลย ก็สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดว์ได้ แต่ในที่นี้นะครับผมจะขอกล่าวถึง ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในอดีตและในปัจจุบันนะครับแต่ในที่นี่ผมจะขอกล่าวถึง เพียงสองอย่างนะครับ ซึ่งได้แก่ MS – DOS และก็ Microsoft Windows สองอย่างนี้นะครับ
ในข้อหนึ่งนี้นะครับผมจะกล่าวถึง ระบบปฏิบัติการ MS – DOS ครับ ซึ่ง เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการก็จะถูกเรียกจากฮาร์ดดิสก์มาไว้ใน หน่วยความจำของเครื่องนะครับเพื่อเตรียมที่จะใช้งานได้ทันที ที่ต้องการนะครับ ซึ่งขั้นตอนที่ย้ายระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องนั้นเรียกว่า การบูตระบบ ครับ ซึ่งเมื่อเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น โปรแกรมเล็ก ๆ ที่อยู่ใน หน่วยความจำรอม จะเรียกเอาส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นของระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์เข้ามาไว้ในหน่วยความจำหลักนะครับ ซึ่งจะได้ผลลัพธ์บนจอภาพเป็น C > หรือ C:\ > นี่นะครับ โดยที่หมายถึงดิสก์ไดรฟ์ที่ทำงานอยู่ และเครื่องหมาย > หมายถึงการเตรียมพร้อมที่จะทำงานจากนั้น ผู้ใช้ก็จะสามารถพิมพ์คำสั่งของ MS – DOS ได้ทันทีครับเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์
ส่วนในข้อนี้นะครับผมจะกล่าวถึง ระบบปฏิบัติการวินโดว์ ครับ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันนี้ครับ ผมจะกล่าวรายละเอียดเลยนะครับ คือ ไมโครซอฟต์วินโดว์นี่นะครับหรือที่นิยมเรียกกันว่า วินโดว์ นั่นแหละครับ ซึ่งมีระบบการติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบกราฟิกที่มีสีสันสวยงามมากครับและสามารถใช้ได้ง่าย ซึ่งผู้ใช้บนระบบวินโดว์นี้นะครับก็จะทำงานกับ เมนู และรูปภาพที่เรียกว่า ไอคอน แทนที่จะเป็นการพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ ลงไปครับ ระบบปฏิบัติการวินโดว์ที่ใช้ในปัจจุบันนะครับก็ได้มีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่องนะครับ ซึ่งก็ได้มีสีสันที่สวยงามมากขึ้นกว่าเดิม และสามารถใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้นกว่าระบบปฏิบัติการวินโดว์ในรุ่นก่อนๆ นะครับ ถึงแม้ว่าวินโดว์จะเป็นระบบที่ทำงานด้วยกราฟิกที่มีสีสันสวยงานแต่การทำงาน ของวินโดว์นี้นะครับก็ยังทำงานภายใต้การทำงานของดอสครับ เพียงแต่ระบบวินโดว์นี้เราจะไม่จำเป็นต้องรู้คำสั่งของดอสเท่านั้นเอง เพราะเราใช้งานคำสั่งสำเร็จรูปด้วยเมนูบนวินโดว์ ครับ  
ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
ระบบปฏิบัติการนี่ นะครับ คือระบบปฏิบัติการสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์นะครับ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันได้ครับ อย่างเช่น ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายนี่นะครับจะมีคุณสมบัติในการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและ การใช้งานอุปกรณ์ร่วมกันนะครับ รวมทั้งยังมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลอีกด้วยครับ
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบันนี้นะครับจะใช้หลักการประมวลผลแบบ ไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ นะครับ โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมนั้นะครับจะทำงานอยู่บน เครื่องเซิร์ฟเวอร์ครับในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายนี้นะครับจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ครับ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ นะครับเหล่านี้เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เองนะครับ ก็ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่ายด้วยนะครับ
ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่นี้นะครับอย่างเช่นเครื่องระดับเมนเฟรมนี่นะครับ ได้ถูกนำมาใช้ในด้านธุรกิจและการศึกษานะครับ ซึ่งจะมีผู้ใช้งานพร้อมๆ กันจำนวนมากนะครับ ทำให้ระบบปฏิบัติการของเครื่องระดับนี้มีการทำงานที่ซับซ้อนมาก โดยต้องทำการดูแลสั่งงานโปรแกรมพร้อมๆ กันจำนวนหลายๆ โปรแกรมนะครับ ดูแลในการเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้จำนวนหลายๆ คนนะครับ ดูแลจัดลำดับและแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้ ตลอดจนการรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ใช้แต่ละคนอีกด้วยนะครับ
ระบบปฏิบัติการแบบเปิด

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การติดตั้งวินโดวส์ 7

1. คลิก Start -> คลิกขวาที่ชอร์ตคัท Computer แล้วเลือก Properties

2. ที่หัวข้อ Windows Activation คลิกลิงค์ดังรูป


3. สำหรับขั้นตอนการลงทะเบียนนี้จะเป็นการลงทะเบียนทางโทรศัพท์ สำหรับเครื่องของท่านที่ไม่มีหรือไม่ได้ต่ออินเตอร์เน็ต โดยคลิก Show me other ways to activate


และคลิก Use the automated phone system


4. เลือกประเภทที่เราอยู่ เพื่อขอเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ในการติดต่อสำหรับลงทะเบียนวินโดวส์ใน Step ที่ 1 โดยเราสามารถใช้เบอร์ติดต่อฟรีแบบไม่ต้องเสียเงินได้ โดยเลือกหมายเลขโทรศัพท์ Toll-free


5. แล้วทำตามขั้นตอนที่ Operator ของไมโครซอฟต์แนะนำใน Step ที่ 2 โดยการป้อนคีย์ตัวเลขทั้งหมด 9 ชุด


6. ทาง Operator ของไมโครซอฟต์จะบอกให้เราใส่ตัวเลขทีละชุด ทั้งหมด 8 ชุดมาใส่ใน Step ที่ 3 อีกครั้ง เสร็จแล้วคลิก Next


ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


หลังจากนี้วินโดวส์แท้ของเราก็จะใช้งานได้ตลอดไปแล้วครับผม

การสร้างโฟลเดอร์

 การสร้างโฟลเดอร์ใหม่
 

1. คลิกเมาส์ขวาที่พื้นที่ว่างบนเดสก์ทอป
2. เลื่อนเมาส์ไปที่ New
3. คลิก Folder  จะเห็นโฟลเดอร์ใหม่พร้อมชื่อโฟลเดอร์ที่ตั้งมาให้ (New Folder)
4. พิมพ์ชื่อโฟลเดอร์ใหม่
5. กดปุ่ม Enter
 train01b.gif
 การเปลี่ยนชื่อไฟล์
1. คลืกที่ชื่อไฟล์ หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการ
2. กดปุ่ม F2 (หรือคลิกขวาที่ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการ เลือกคำสั่ง Rename จากนั้นพิมพ์ชื่อใหม่ที่ต้องการ)
3. พิมพ์ชื่อไหล์ หรือโฟลเดอร์ใหม่
 train01b.gif
 การลบไฟล์ / โฟลเดดอร์
1. คลิกที่ชื่อไฟล์/โฟลเดอร์ ที่ต้องการลบ
2. กดปุ่ม Delete
3. กดปุ่ม Yes เพื่อยื่นยันการลบไฟล์
 train01b.gif
  การจัดเรียงไอคอน
1. คลิกเมาส์ขวาบนพื้นที่ว่างของเดสก์ทอป
2. เลือนเมาส์ไปที่ Arrange Icons
3. คลิกเลือกวิธีการจัดเรียงไอคอน
        by Name - เรียงตามชื่อ
        by Type         - ชนิดของไฟล์
        by Size         - ขนาดของไฟล์
        by Date         - วันที่จัดเก็บไฟล์
        Auto Arrange    - จัดเรียงแบบอัตโนมิติ

การสร้าง USER

start -> Settings -> Control Panel -> User Accounts  แล้วก็ตามรูปเลยค่ะ



คลิก Create a new account



ใส่ชื่อ User  - > Next



เลือกสิทธิ์ในการใช้งาน -> Create Account



เสร็จขั้นตอนการสร้าง User

ต่อไปมาถึงขั้นตอนการ Set Password

คลิกที่ User ที่ต้องการ Set Password จะได้ดังรูปข้างล่าง



คลิก Create a password



ใส่ Password -> Create password

เสร็จสิ้นขั้นตอนการ Set password แล้วลอง Switch User ดูนะค่ะ ว่าจะขึ้นมาประมาณรูปนี้หรือเปล่า

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การลง Windows XP

การลง Windows XP

1.ก่อนอื่นต้องตั้งบูตจากแผ่นซีดีก่อน
2. ทำการบูตเครื่องเสร็จก็จะมีข้อความขึ้นมาให้กด Enter
3. โปรแกรมก็จะทำการตรวจสอบ แล้วมันก็จะเข้าสู่หน้า Welcome to setup กด  Enter แล้วมันจะขึ้นโปรแกรมให้กด F8
4.กด Enter เพื่อยันยืนการลบ พาดิชั่น ต้องมั่นใจก่อนนะว่าเก็บงานของเราในไดว์ฟ C หมดแล้ว เพราะกด Enter ปุ๊บไดว์ฟ C จะถูกล้างใหม่หมดเลย
5.กด L เพื่อยืนยันการลบข้อมูลลบเสร็จแล้วก็จะเห็นว่าไดว์ฟ C หายไปแล้ว ก็กด C ครับ เพื่อสร้างพาดิชั่นขึ้นมาใหม่ ก็ใส่ขนาดไดว์ฟ C ที่เราต้องการ (หน่วยเป็น MB)
6.ให้เลือกฟอแมท เมื่อฟอแมทเสร็จแล้วก็จะเริ่มก๊อปปี้ไฟลลงเครื่องเรา
7.แล้วจะขึ้นหน้าให้เราเซตภาษา ใส่รายละเอียดตามที่ต้องการ ใ่ส่ชื่อคอม ใส่ตัวเลข
8.แล้วมันจะเข้าสู้หน้าต่าง Windows จากนั้นรอไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมีข้อความขึ้นมาก็ให้กด Next ไปเรื่อยๆ พอลงโปรแกรมไรเสร็จมันก็จะ Restart อีกครั้งหนึ่งเพื่อใช้งาน 
9.แล้วมันจะมีข้อความขึ้นมาให้กด OK

คำถาม
1.ทำการบูตเครื่องเสร็จก็จะมีข้อความขึ้นมาให้กด ?
ก.Esc       ข. OK
ค.Enter    ง. L

2.แล้วมันก็จะเข้าสู่หน้า Welcome to setup กด  Enter แล้วมันจะขึ้นโปรแกรมให้ก ?
ก.F8        ข.F4
ค.F10      ง.F5

3.เมือกด Enter เพื่อยันยืนการลบ พาดิชั่นไดว์ฟ C จะเป็นอย่างไร
ก.กู้คืนกลับมา       ข.จะถูกล้างใหม่หมดเลย
ค.จะทำกาติดตั้ง    ง.จะทำการRestart

4. กดปุ่มใดเพื่อเป็นการยืนยันการลบข้อมูล
ก.L          ข. Esc 
ค.OK        ง.Ctrl

5. การเลือกพาสดิชั่นคือ ?
ก. การเลือกไดฟ์ที่จะลง Windows          ข. การเลือกโปรแกรม
ค. การบูตเครื่อง                                  ง. การเลือก Windows

6. เมื่อฟอแมทเสร็จแล้วทำอย่างไรไรต่อ
ก.กด Next         ข.เริ่มก๊อปปี้ไฟลลงเครื่องเรา
ค.กดออก           ง. Restart ใหม่ทั้งหมด

7.ขนาดไดว์ฟ C ที่เราต้องการมีหน่วยเป็นอะไร?
ก.GB              ข.KB
ค.CD              ง.MB

8.แล้วก็กรอกข้อมูลให้กรอกข้อมูลอะไร
ก.ชื่อคอมของคุณ        ข.บ้านเลขที่
ค.เบอร์โทร                ง.อายุ

9. เข้าสู้หน้าต่าง Windows จากนั้นรอไปเรื่อยๆ แล้วมันจะมีข้อความขึ้นมาก็ให้กดอะไร ?
ก.OK        ข.Entrr
ค.Next      ง.Esc

10.พอมันทำการติดตั้งเส็จมันจะทำอย่างไรต่อ
ก. ลงโปรแกรมต่อ         ข. ค้าง
ค. Restart                   ง.หยุดทำงาน

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การปรับแต่ง Windows xp

การปรับแต่ง Windows XP

การใช้งานโปรแกรม Advanced Tweak XP

1. หน้าจอหลังจากคุณเรียกเข้าโปรแกรม จะพบกับข้อมูลระบบของ Windows (System Information) เช่น Windows รุ่นที่คุณใช้งาน, Product ID, เวอร์ชั่นของ DirectX รวมถึงความเร็วของซีพียู, ข้อมูลเกี่ยวกับการ์ดแสดงผล และอุปกรณ์อย่างเช่น Mouse Keyboard ซึ่งจะแบ่งการแสดงออกเป็นแท็บต่างๆกันไปตามลำดับ เช่น System, Video, Keyboard

ส่วนในด้านซ้ายของหน้าจอนี้ จะรวบรวมฟังก์ชั่นการทำงานทั้งหมดของโปรแกรม Advanced XP Tweak เอาไว้ ซึ่งจะขอกล่าวถึงในส่วนของ Utilities โดยสังเขปดังนี้



1.1 System Information ข้อมูลเกี่ยวกับระบบของคุณ ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้วข้างต้น
1.2 Add/Remove Programs เป็นส่วนที่จะให้คุณเพิ่มหรือลบโปรแกรมออกจากระบบ Windows
1.3 Startup Manager การจัดการโปรแกรที่ถูกโหลดขึ้นมาในระหว่างที่เปิดเครื่องหรือบูตเข้ามาใน Windows ซึ่งคุณสามารถเลือกตัดโปรแกรมที่ไม่สำคัญทิ้งไปในระหว่างบูตเครื่อง เพื่อให้การบูตเข้า Windows ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
1.4 DLL Manager การจัดการไฟล์ .DLL ที่มีการติดตั้งไว้ภายใน Windows ของคุณ ไฟล์ .DLL เป็นไฟล์ระบบสำคัญที่ถูกใช้โดยโปรแกรมที่เราติดตั้งไว้ใน Windows ดังนั้นหากคุณไม่รู้จัก หรือไม่แน่ใจว่าสมควรจะลบหรือไม่ ให้ปล่อยไว้อย่างนั้น
1.5 Disk Cleanup เครื่องมือในการลบไฟล์ที่ไม่ต้องการออกจากระบบ Windows เพื่อให้มีเนื้อที่ว่างเพิ่มมากขึ้น
1.6 OEM Information ใช้แก้ไขหน้าจอที่แสดงรุ่นของซีพียูที่คุณใช้อยู่ แต่เป็นเพียงแค่การแก้ไขการแสดงผลเท่านั้น ไม่ได้ทำให้สปีดหรือความเร็วของซีพียูเพิ่มขึ้นจริงแต่อย่างใด





1.7 System Folders จะแสดงโฟลเดอร์ที่สำคัญของระบบ Windows ขึ้นมาทั้งหมด และยอมให้คุณแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามที่ต้องการได้
1.8 Cookie Management เป็นหน้าจอที่เอาไว้ดูไฟล์ Cookie หรือก็คือไฟล์ที่ใช้เก็บข้อมูลพฤติกรรมในการเยี่ยมชมเว็บของเรา ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยเว็บที่เราเข้าไปเยี่ยมชม และส่งเข้ามาเก็บไว้ในเครื่องของเรา เช่น ข้อมูลการล็อกอินที่ทำให้เราไม่ต้องคอยป้อนรหัสผู้ใช้ หรือรหัสผ่านทุกครั้งที่เข้าไปเยี่ยมชมเว็บนั้นๆ
1.9 Designer XP ให้คุณสามารถเพิ่มโปรแกรมแกรมรุ่นเก่าๆ ที่ไม่ซัพพอร์ทการทำงานในแบบของ Windows XP (Visual Style)
1.10 Windows Tools รวมเครื่องมือทั้งหมดที่มีอยู่ใน Windows XP ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน เพราะบางโปรแกรมที่คุณเห็นในหน้าจอนี้ หลายๆ โปรแกรมเป็นแบบ Command Line คือ ต้องรู้คำสั่ง และเรียกใช้ผ่านทาง Command Prompt หรือจากเมนู Start->Run



1.11 Tweaks เป็นหัวข้อหลักที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ การดูเมนูย่อยๆภายใต้หัวข้อนี้ ถ้าคุณคลิกที่ปุ่ม ก็จะแสดงหัวข้อย่อยภายใต้ Tweaks นี้ขึ้นมาทั้งหมด
1.12 Help/Options เป็นระบบช่วยเหลือของโปรแกรม Advanced XP Tweak รวมถึงการกำหนดวิธีการทำงานของตัวโปรแกรม Advanced XP Tweak เอง ดังรูป ซึ่งเป็นการกำหนดลักษณะการทำงานโดยทั่วไปของโปรแกรม เช่น เมื่อเปิดโปรแกรม จะให้ย่อการทำงานไปอยู่ในส่วนของ System Tray เลยหรือไม่, การกำหนดให้เปิดโปรแกรม เมื่อบูตเข้า Windows, การเปิดหรือปิดการแสดงข้อความเตือนของโปรแกรม และการกำหนดรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้โปรแกรม Advanced XP Tweak




การปรับแต่งระบบ Windows XP

* ในทุกหน้าจอของหัวข้อ Tweaks นี้ การเปิดหรือปิดออปชั่นการทำงานใดๆ จะใช้วิธีทำเครื่องหมายในเช็คบ๊อกซ์ (ที่เป็นรูปกรอบสี่เหลี่ยมหน้าแต่ละออปชั่น) เพื่อให้มีเครื่องหมาย ซึ่งหมายถึง การเปิดใช้งานออปชั่นนั้น หรือเอาเครื่องหมายออก ซึ่งหมายถึง ปิดการทำงานของออปชั่นนั้น

* ขอให้คุณจดหัวข้อที่คุณมีการแก้ไขทั้งหมดไว้ เพื่อให้สามารถทำการแก้ไขได้ในภายหลัง ถ้าคุณไม่พอใจกับการปรับแต่งที่ได้มีการดำเนินการไปแล้ว

* เมื่อปรับเปลี่ยนค่าในแต่ละหน้าจอเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็น System, Start Menu, Internet Explorer, Security ฯลฯ คุณจะต้องบันทึกค่าการปรับเปลี่ยนแต่ละหน้าจอ โดยคลิกที่ปุ่ม ทุกครั้งหลังการแก้ไขค่าออปชั่นในแต่ละหน้าจอ (ไม่สามารถคลิกที่ปุ่มนี้เพียงครั้งเดียวได้ เพื่อ Save ค่าทุกหน้าจอที่มีการแก้ไขได้)

* การเปิดหรือปิดการทำงานในออปชั่นบางตัว โปรแกรมจะแจ้งเตือนให้คุณ Restart เครื่องใหม่ แต่คุณสามารถทดสอบผลได้ทันที ด้วยการ Log off และ Log on กลับเข้ามาใหม่ โดยไม่จำเป็นต้อง Restart เครื่องใหม่


การปรับแต่งการทำงานของระบบ (System)



- Do not update file access time (NTFS only) ไม่ต้องอัพเดทเวลาในการเข้าถึงไฟล์ การเปิดการทำงานในออปชั่นนี้ จะช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงไฟล์ (เรียกใช้งานไฟล์) นี้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
- Faster Windows shutdown การเปิดออปชั่นนี้จะช่วยทำให้การ Shutdown หรือปิดเครื่องของคุณ ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
- Disable Paging file ไม่ต้องให้ Windows สร้างเพจจิ้งไฟล์ หรือไฟล์ที่จำลองเนื้อที่ในฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นหน่วยความจำสำรอง ที่จะเป็นพื้นที่ในการรันโปรแกรม การเปิดออปชั่นนี้ จะทำให้ Windows เรียกใช้โปรแกรมจากแรมโดยตรง ซึ่งถ้าคุณมีแรมมากพอ และสามารถรองรับโปรแกรมที่จะใช้งานในช่วงเวลาหนึ่งได้เพียงพอ ก็อาจจะทดลองเปิดออปชั่นนี้ ซึ่งจะทำให้ Windows ทำงานได้เร็วยิ่งขึ้น
- Optimize disk cashe size ให้มีการปรับเพิ่ม/ลดจำนวน Disk Cache (หรือดิสก์ที่ถูกจำลองมาใช้ในการอ่านเขียนข้อมูลชั่วคราว) ตามขนาดของแรมที่มีการติดตั้งไว้ภายในเครื่อง การเปิดออปชั่นนี้ อาจจะทำให้การอ่านเขียนไฟล์ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
- Disable CD autorun ปิดระบบออโต้รัน CD เพื่อไม่ให้ระบบต้องหยุดรอทุกครั้ง ที่มีการใส่แผ่นซีดีเข้าไป
- Remove Windows Messenger ให้ลบโปรแกรม Windows Messenger ที่ติดมากับ Windows XP ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้ MSN กันมากกว่า


- Disable "Send Error Report"
เวลาที่คุณใช้โปรแกรมที่ติดตั้งเพิ่มเข้าไปบน Windows XP อาจจะเคยเจอปัญหาว่า เมื่อเกิด Error ขึ้น Windows XP จะมีกรอบแสดงหน้าจอให้คุณยืนยันการส่ง Error ที่เกิดขึ้นไปให้กับทาง Microsoft เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ซึ่งปกติเราคงไม่ดำเนินการในลักษณะดังกล่าว คุณสามารถเปิดออปชั่นนี้ เพื่อไม่ให้มีหน้าจอ Send Error Report ขึ้นมากวนใจอีก



- Prompt for password when computer resumes from standby กำหนดให้มีถามรหัสผ่านทุกครั้ง ที่ต้องการออกจากระบบ Standby ของ Windows XP
- Close not responding applications automatically ให้ Windows XP จัดการปิดโปรแกรม (Close) ที่เกิดอาการค้างโดยอัตโนมัติ โดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กำหนดไว้ในบรรทัด Consider application not responding after: (มีหน่วยเป็นมิลลิวินาทีหรือ ms)
- Windows Installation เปลี่ยนไดร์ฟและโฟลเดอร์ที่คุณใช้ในการติดตั้ง Windows XP ซึ่งจะมีประโยชน์เมื่อคุณมีการเปลี่ยนแปลงชื่อไดร์ฟภายในเครื่องของคุณ เช่น เปลี่ยนไดร์ฟซีดีรอมจากไดร์ฟ D: เป็นไดร์ฟ E: (อาจจะเกิดจากมีการแบ่งพาร์ติชั่นใหม่ หรือเพิ่มฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่เข้าไป) ซึ่งมีผลทำให้ไดร์ฟที่ถูกอ้างอิงในการติดตั้ง Windows เปลี่ยนแปลงไป และทำให้คุณต้องคอยเปลี่ยนชื่อไดร์ฟทุกครั้งที่มีการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จะถามหาไฟล์จากในแผ่นติดตั้ง Windows XP


การปรับแต่งหน้าตาหรือรูปแบบการแสดงผลของเมนู Start



โดยในส่วนของ Start Menu จะเป็นการกำหนดให้แสดงหรือซ่อนโปรแกรมที่แสดงอยู่ในเมนู Start เช่น การซ่อนหัวข้อ Windows Update, Help and Support, My Document เป็นต้น ซึ่งก็จะช่วยให้คุณเข้าถึงเมนูที่จะใช้งานได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น โดยซ่อนหัวข้อที่ไม่ได้ใช้งาน หรือใช้งานน้อยเอาไว้



ในส่วนของ Additional เป็นการกำหนดให้แสดงหรือซ่อน Context Menu ของเมนู Start, การกำหนดว่าจะยอมให้มีการแก้ไข Control Panel หรือการกำหนดคุณสมบัติของโฟลเดอร์ (Folder Customization) ได้หรือไม่ รวมไปถึงกำหนดความเร็วในการแสดงผลของเมนู Start (Start Menu delay) โดยคุณสามารถเร่งความเร็วการแสดงผลเมนู Start (หรือเวลาที่คลิกที่เมนู Start) โดยการกำหนดตัวเลขให้น้อยลง (ค่าปกติ คือ 400 Ms)

ในส่วนสุดท้าย จะเป็นการกำหนดความโปร่งใสของ Taskbar (หรือ Taskbar Transparency) ยิ่งคุณกำหนดเปอร์เซ็นต์ความโปร่งใสมากขึ้นเท่าไหร่ Taskbar ก็จะยิ่งมีความโปร่งใสมากขึ้นตามไปด้วย (เป็นลูกเล่นเกี่ยวกับการแสดงผลทาสก์บาร์)


การปรับแต่งหน้าตาและการทำงานของโปรแกรม Internet Explorer



คุณสามารถเพิ่มลูกเล่นการแสดงผลภายในโปรแกรม Internet Explorer (IE) ได้ในหัวข้อนี้ เช่น การกำหนดพื้นหลังของทูลบาร์ในโปรแกรม IE โดยการเลือกรูปภาพที่จะใช้เป็นพื้นหลัง

จากรูปที่จะแสดงต่อไป ผมลองหาไฟล์รูปภาพ .bmp มาใช้เป็นพื้นหลังทูลบาร์ของ IE และเปลี่ยน Browser Title เป็นคำว่า TEST ซึ่งจะได้ผลดังตัวอย่าง

ตัวอย่าง ก่อนการแก้ไข



หลังการแก้ไข



ในหน้าจอนี้ เมื่อคุณลากแถบเลื่อนลงมาด้านล่าง ก็จะพบกับการปรับแต่งการทำงานของ IE ในส่วนอื่นๆ เช่น การซ่อนปุ่มหรือแท็บภายใต้โปรแกรม IE หรือปิดไม่ให้สามารถคลิกเข้าในบางเมนู ซึ่งอาจจะนำไปใช้ในกรณีที่คุณใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกับคนอื่น และไม่ต้องการให้ใครเข้ามาทำการแก้ไขค่าใดๆในโปรแกรม IE





ตัวอย่าง เมื่อมีการ Disable Content tab จะเห็นว่าแท็บ Content ของ IE ถูกซ่อนไว้



การปรับแต่งที่จะมีผลต่อความเร็วในการใช้งานอินเตอร์เน็ท จะมีเพียงออปชั่น Increase packet Time To Live (TTL), Enable larger TCP/IP window และ Enable MTU (Maximum Transmission Unit) autodetection ที่คุณอาจจะลองเปิดการทำงานของออปชั่นเหล่านี้ ซึ่งอาจจะทำให้การเล่นอินเตอร์เน็ทมีความเร็วเพิ่มขึ้น


การปรับแต่งในเรื่องระบบความปลอดภัย (Security)



ในส่วนนี้ จะเป็นการกำหนดระบบความปลอดภัยให้กับ Windows ของคุณ โดยจะให้คุณเลือกที่จะปิดการทำงานของโปรแกรมที่มีผลต่อการทำงานของระบบ Windows โดยรวม เช่น ปิดการทำงานในส่วนของ Control Panel, ปิดไม่ให้ใช้งานเมนู File->New ในขณะที่ใช้ Windows Explorer, ปิดการทำงานของ Task Manager ฯลฯ ซึ่งจะเป็นประโยชน์เมื่อคุณไม่ต้องการให้ใครเข้ามาแก้ไขหน้าตา หรือการทำงานของ Windows ที่คุณได้กำหนดค่าเอาไว้แล้ว

ตัวอย่าง หากคุณ Disable Registry Editor เอาไว้ และพยายามจะใช้คำสั่ง Regedit.exe



และเมื่อคุณเลื่อนแถบบาร์ลงมาด้านล่างของหน้าจอนี้ ก็จะพบกับการปรับแต่งระบบ Windows ในส่วนของการติดตั้งหรือลบโปรแกรม (Add/Remove Programs) และเรื่องของระบบเครือข่าย (Network)



ตัวอย่าง การซ่อน Add/Remove Windows Components (โดยการทำเครื่องหมายหน้าบรรทัด Disable Add/Remove Windows Components) จะเห็นว่า Add/Remove Windows Components หายไป




การปรับแต่งการแสดงผลและการทำงานของ Explorer และ Desktop



1. ให้ Windows Explorer เปิดขึ้นมาใหม่ หากเกิดอาการค้างหรือหยุดการทำงานไป
2. ให้ทำการ Import รีจิสตรี้ที่สำรองไว้ เข้ามาในระบบโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องขึ้นหน้าจอให้ยืนยัน
3. ในส่วนของ Desktop คุณจะสามารถกำหนดให้แสดงเวอร์ชั่นของ Windows ที่คุณใช้ขึ้นมาบน Desktop ได้
4. ไม่ให้แสดงเครื่องหมายลูกศรใต้ไอคอนที่แสดงอยู่บน Desktop เช่น My Computer , My Network Places


การปรับแต่งในส่วนอื่นๆ (Miscellaneous)



ในหน้าจอนี้ จะให้คุณกำหนดตำแหน่งของหน้าจอ Logon ก่อนที่จะเข้าใช้งาน Windows ตามปกติ ว่าจะให้อยู่ในตำแหน่งใด เช่น กึ่งกลางหน้าจอ หรือขยายหน้าจอ Logon ให้เต็ม นอกจากนั้นคุณยังสามารถเพิ่มลูกเล่น ในการแสดงหน้าจอ Logon ได้โดยการเลือกไฟล์รูปภาพที่จะนำมาใช้เป็นวอลล์เปเปอร์ (Wallpaper) ของกรอบหน้าจอการ Logon

ในส่วนของ Logon dialog คุณจะสามารถกำหนดข้อความที่จะให้แสดงขึ้นมาก่อนที่จะเข้าหน้าจอการ Logon ของ Windows เช่น เป็นข้อความต้อนรับ หรือข้อความเตือนความจำ

การปรับแต่ง Windows7

การปรับแต่ง windoes 7

ในที่สุดการรอคอยก็ใกล้จะถึงจุดหมายแล้ว สำหรับ Windows 7 ที่หมายว่าจะสร้างความนิยมให้กับผู้ใช้ได้ หลังจากที่เราผิดหวังจาก Windows Vista กันมาแล้ว ซึ่ง Windows 7 นั้น นอกจากมีความสวยงามน่าใช้ไม่แตกต่างไปจาก Vista แล้ว ยังใช้งานได้ดี ไม่แพ้กับ Windows XP เลย เรียกว่าหากได้ใช้ Windows 7 แล้ว คุณจะไม่อยากกลับไปใช้ Windows XP อีกเลย
ดูจากรูปเราจะเห็นว่า Windows 7 แม้จะพัฒนาต่อยอดมาจาก Windows Vista แต่หน้าตาก็มีการปรับเปลี่ยนไปบ้างพอสมควร แม้จะใช้งานได้ไม่ยาก แต่ก็ต้องปรับตัวกันนิดหน่อยเพื่อให้สามารถใช้งาน Windows 7 ได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่วนประกอบที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือส่วนของทาสก์บาร์ ที่ปรับปรุงให้เรียกใช้โปรแกรมได้ง่ายขึ้น มีการตัดทอนบางฟังก์ชั่นออกไป เช่น Quick Launch
WIndows7_desktop
ส่วนของซิสเท็มบาร์ที่ถูกซ่อนเอาไว้ไม่ให้แสดงผลเกะกะบนหน้าจอ รวมทั้งแถบของ Gadget ที่หายไป โดยเราสามารถเรียก Gadget ขึ้นมา และวางไว้ตรงไหนก็ได้ของหน้าจอ โดยไม่กินพื้นที่เหมือนกับ Gadget Bar ในWindows Vista อีก แน่นอนว่าเมื่อเวอร์ชันใหม่ออกมา ก็ต้องมีความสามารถใหม่ๆ ตามมาด้วย และนี่คือทิปที่จะช่วยให้คุณใช้งาน Windows? 7 ได้ง่ายและสะดวกขึ้น พร้อมกับสามารถปรับแต่งหน้าตาอินเทอร์เฟสต่างๆ ได้ตามต้องการ

สร้างแผ่นสำหรับแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์

คงบอกว่าหากวันใดวันหนึ่ง Windows ของคุณเกิดปัญหาขึ้น จะทำให้คุณต้องยุ่งยากขนาดไหน ดังนั้นเราควรที่จะสร้างหนทางสำหรับที่จะทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น โดยการสร้างแผ่นบู๊ตยามฉุกเฉินเอาไว้ก่อน โดยหลังจากที่ติดตั้ง Windows เสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ก็ให้เราเตรียมแผ่นดิสก์เปล่าๆเอาไว้ก่อน จากนั้นคลิกที่ Start > Maintenance > Create a System Repair Disc และใส่แผ่นดิสก์เปล่าลงไป และให้ Windows 7 สร้างแผ่นบู๊ตยามฉุกเฉินเอาไว้ก่อน ทีนี้ หาก Windows มีปัญหาในการทำงานเกิดขึ้น เราก็สามารถใช้แผ่นดิสก์นี้บู๊ต เพื่อแก้ไขปัญหา
Create_emergency_Disc

เขียนแผ่นซีดีและวิดีโอจาก ISO ไฟล์ โดยไม่ต้องลงโปรแกรมเบิร์น

คุณสมบัติอย่างหนึ่งของ Windows 7 ก็คือเราสามารถสร้างเบิร์นแผ่นดีวีดีหรือซีดีได้ โดยไม่ต้องลงโปรแกรมเขียนแผ่นดิสก์ลงไปก่อน ซึ่งช่วยให้สะดวกขึ้น หากว่ามีแผ่นโปรแกรมในรูปแบบของไฟล์ ISO อยู่ในเครื่องอยู่แล้ว ก็สามารถคลิกที่ไฟล์ ISO นั้นแล้วเลือกไดรว์ที่จะเขียน พร้อมกับใส่แผ่นดิสก์เปล่าลงไป เท่านี้ Windows ก็จะพร้อมที่จะสร้างแผ่นดิสก์จาก ISO ไฟล์ได้เลย

แก้ไขปัญหาใน Windows 7 ให้รวดเร็ว

เวลาเกิดปัญหากับการใช้งาน Windows คงไม่ต้องบอกว่ามันยุ่งยากขนาดไหน เพราะเราไม่รู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากอะไรและจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆนั้นอย่างไรได้บ้าง แต่สำหรับ Windows 7 แล้ว มีเครื่องมือที่จะช่วยให้เราสามารถค้นหาปัญหา และแก้ไขได้ด้วยตัวเองก่อนที่จะต้องส่งให้ผู้เชี่ยวชาญต่อไป โดยเราสามารถเข้าถึงการตรวจสอบปัญหาต่างๆ ได้จากการเลือกที่ Control Panel > Troubleshoot Problems ซึ่งจะมีวิซาร์ด ช่วยในการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น และวิธีการแก้ไข รวมทั้งยังเป็นการเช็คอัพระบบ และกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับการทำงานของคุณได้
Troubles_Shooting

ซ่อนไอคอนของ Windows Live Messenger

ถ้าคุณเป็นอีกคนหนึ่ง ที่ต้องใช้ Windows Live Messenger เป็นประจำบน Windows 7 คุณจะพบว่าเมื่อเปิด Windows Live Messenger มันจะแสดงการทำงานค้างไว้บนทาสก์บาร์ให้เกะกะ ซึ่งหากคุณไม่ชอบใจ ก็สามารถซ่อนการทำงานของ Windows Live Messenger เอาไว้ได้ โดยก่อนอื่นต้องคลิกขวา เลือกที่ไอคอนของ Windows Live Messenger จากนั้นเลือกที่ Properties แล้ว กำหนดให้แอพพลิเคชั่น ทำงานในโหมดของ Windows Vista Compatibility จากนั้นก็เปิดการทำงานของ Windows Live ขึ้นมาอีกครั้ง คราวนี้โปรแกรม Messenger จะถูกซ่อนการทำงานเอาไว้ ไม่โผล่มาให้เกะกะบนทาสก์บาร์อีก

เพิ่มพื้นที่การใช้งานให้กับเดสก์ท็อป

ใน Windows 7 เราจะพบว่าทาสก์บาร์นั้นมีขนาดที่ใหญ่มาก ซึ่งอาจจะกินพื้นที่บางส่วนของเดสก์ท็อปไปอย่างมาก รวมทั้งไอคอนต่างๆ ทำให้พื้นที่สำหรับแอพพลิเคชั่นต่างๆ นั้น วางได้ไม่เยอะ ซึ่งเราสามารถที่จะปรับขนาดของไอคอนบนเดสก์ท็อปให้เล็กลงได้ โดยคลิกขวาที่ทาสก์บาร์ จากนั้นเลือกที่ Properties > Taskbar > Use small icons เพื่อที่จะให้ไอคอนบนทาสก์บาร์เล็กลง และเราก็จะได้พื้นที่ใช้งานบนเดสก์ท็อปนั้นเพิ่มขึ้น

เพิ่ม Quick Launch ให้กับทาสก์บาร์

ด้วยการมี Launch ที่สามารถเรียกโปรแกรมต่างๆ ขึ้นมาให้แล้ว ทำให้ Quick Launch เดิมที่มาพร้อมกับ Windows ก่อนหน้านี้ ถูกตัดออกไป แต่เราก็สามารถเปิดการทำงานของ Quick Launch ขึ้นมาได้ โดยให้คลิกขวาที่ทาสก์บาร์ จากนั้นเลือกที่ Toolbars/ New Tools Bar ก็จะปรากฏหน้าต่าง Folder Selection dialog ขึ้นมา ให้พิมพ์ข้อความตามนี้ลงไป %userprofile%\AppData\Roaming\Microsoft\Internet Explorer\Quick Launch แล้วคลิกที่ OK ก็จะมีแถบของ Quick Launch ปรากฏขึ้นที่ทาสก์บาร์ แต่ตอนนี้ Quick Launch จะดูเหมือนว่าไม่ปรากฏออกมาเพราะมีแถบข้อความ และคำอธิบายเต็มไปหมด ให้คลิกขวาที่ Quick Launch แล้วเอาเช็คบ็อกซ์ตรง lock the taskbar ออก แล้วคลิกขวาอีกครั้งที่ Quick Launch และให้นำเช็คสบ็อกซ์ หน้าข้อความ show Text และ Show Titles ออกไป ที่นี้เราก็สามารถลากไอคอนชอร์ตคัทของโปรแกรมต่างๆ ที่ต้องการ นำมาวางไว้ตรง Quick Launch นี้ได้ และเมื่อเป็นที่พอใจแล้ว ก็ให้คลิกขวาที่ทาสก์บาร์ พร้อมกับล็อคทาสก์บาร์เอาไว้ให้เรียบร้อย
QuickLuanch

เปลี่ยนการทำงานให้กับเพาเวอร์สวิทช์

ปกติหน้าที่ของเพาเวอร์สวิทช์ ก็คือการเปิดเครื่อง แต่ขณะที่คอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ล่ะ จะให้มันทำหน้าที่เป็นอะไร ในWindows 7 เราสามารถกำหนดการทำงานให้กับเพาเวอร์สวิทช์ได้ โดยคลิกขวาที่ไอคอน Windows มุมล่างซ้าย แล้วเลือกที่ properties จากนั้น คลิกที่แท็บ Start Menu แล้วตรง power button action ก็กำหนดหน้าที่ที่ต้องการให้กับปุ่มเพาเวอร์ได้ ทั้งการชัตดาวน์ รีสตาร์ท หรือล็อคเครื่องก็ได้เช่นกัน
Power Button Option

ควบคุมการทำงานบน Windows ด้วยปุ่ม Windows คีย์

หากคุณต้องการปรับการแสดงผลขณะทำงานบน Windows 7 เพื่อให้สะดวกขึ้น เราสามารถใช้ปุ่ม windows คีย์ เพื่อเป็นคีย์ลัดในการจัดการการแสดงผลของหน้าต่างบน Windows ได้ ไม่ว่าจะเป็นการย่อขยาย จัดการแสดงผลให้เต็มหน้าจอ หรือย่อทั้งหมดลงมา หรือเรียกการทำงานของหน้าต่างที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น ซึ่งคีย์ลัดนี้ เราสามารถทำงานกับ Windows ได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยสามารถแบ่งการทำงานที่ต้องใช้ร่วมกับปุ่ม Windows คีย์ได้ดังนี้
  • ปรับขนาดของหน้าต่างให้ตรงกับความต้องการ
-?? ?เราสามารถใช้ปุ่ม Windows คีย์ ร่วมกับปุ่มลูกศร เพื่อปรับขนาดของ Windows ได้ตามต้องการ เช่น
-?? ?Win + ลูกศรขึ้น และ Win+ ลูกศรลง? เป็นการขยายขนาดของหน้าต่างให้เต็มหน้าจอ และย่อขนาดกลับลงมาเท่าเดิม
-?? ?Win + ลูกศรซ้าย และ Win + ลูกศรขวา เป็นการกำหนดตำแหน่งของการแสดงผลอยู่ทางครึ่งของหน้าจอทางซ้ายมือหรือว่าขวามือ
-?? ?Win + Shift +ลูกศรขึ้น และ Win+Shift+ ลูกศรลง? เป็นการขยายขนาดของหน้าต่างให้เต็มหน้าจอทางด้านแนวตั้ง และย่อขนาดกลับลงมาเท่าเดิม
  • แสดงผลออกโปรเจ็คเตอร์

หมดปัญหากับการที่ต้องควานหาปุ่ม เพื่อเลือกการแสดง หากต้องการต่อกับโปรเจ็คเตอร์หรือมอนิเตอร์ภายนอก เพราะเพียงแค่ใช้คีย์ Win + P ก็จะเป็นการเลือกการแสดงที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลเฉพาะหน้าจอหลัก การแสดงผลหน้าจอทั้งสองให้เหมือนๆกัน การแสดงแบบบนจอที่สองแบบ extend และการแสดงผลเฉพาะจอที่สองเพียงอย่างเดียว
แต่หากว่าคุณต้องการแสดงผลเฉพาะพรีเซนเทชั่น เพื่อออกไปทางโปรเจ็คเตอร์ คงไม่อยากให้การแสดงผลบนหน้าจอถูกขัดจังหวะด้วยสกรีนเซฟเวอร์ หรือว่าข้อความทาง IM ที่ส่งมาให้คุณ เราสามารถใช้ปุ่ม Win+X เพื่อกำหนดการแสดงผลเฉพาะพรีเซนเทชั่นได้ เท่านี้เวลาข้อความทาง IM ส่งเข้ามาหรือว่าสกรีนเซฟเวอร์ทำงาน ก็จะไม่มีผลต่อการแสดงผลบนหน้าจอโปรเจ็คเตอร์อีก
  • ย่อหน้าต่างให้เลือกเฉพาะที่ใช้งานปัจจุบัน

เราสามารถย่อหน้าต่างอื่นๆที่ไม่ได้ใช้งาน ให้ลงไปอยู่บนทาสก์บาร์ได้ โดยกดคีย์ Win+ Home ซึ่งหน้าต่างอื่นๆที่เราไม่ได้ใช้งานอยู่ ก็จะถูกย่อลงเองโดยอัตโนมัติ และเมื่อกด Win+Home อีกครั้ง ก็จะกลับมาแสดงผลตามปกติ
  • ทำงานแบบหลายมอนิเตอร์พร้อมๆ กัน

ถ้าคุณต่อมอนิเตอร์หลายๆตัวเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถเคลื่อนการทำงานจากมอนิเตอร์หนึ่งไปยังอีกมอนิเตอร์หนึ่งได้ โดยกดปุ่ม Win+shift+ปุ่มลูกศรซ้าย หรือขวา เพื่อเลื่อนการทำงานไปยังมอนิเตอร์ที่ต้องการได้
  • เรียกใช้โปรแกรมบนทาสก์บาร์ด้วยคีย์ลัด

ในทาสก์บาร์ของ Windows 7 จะมีการจัดเรียงโปรแกรมเอาไว้อยู่ และเราสามารถที่จะเรียกใช้แอพพลิเคชั่นเหล่านั้นได้โดยง่าย เพียงแค่เล็งไว้ว่าแอพพลิเคชั่นนั้นๆอยู่ตำแหน่งที่เท่าไหร่ นับจากปุ่มสตาร์ทเป็นต้นมา เราสามารถเรียกแอพพลิเคชั่นได้รวดเร็วขึ้น จากการที่กดคีย์ Win+คีย์ตัวเลข ก็จะเป็นการเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นลำดับตัวเลขนั้นขึ้นมาทันที
  • มองทะลุเดสก์ทอป

ใน Windows 7 มีฟังก์ชั่นบางตัวที่เรียกว่า? Gadget สำหรับบอกเวลา บอกวันที่ รวมถึงดูโน้ตต่างๆได้ ซึ่งปกติหากเราต้องการดูของต่างๆ ที่อยู่บนเดสก์ท็อป เราต้องย่อหน้าต่างลงมาทั้งหมดเสียก่อน แต่หากว่าเราต้องการแค่ดูเฉยๆโดยไม่ได้ทำอะไร Windows 7 ยอมให้คุณกดปุ่ม Win+Space เพื่อมองทะลุหน้าต่างทั้งหมดที่อยู่ ให้คุณมองเห็นเดสก์ท็อปได้
desktop-aero-peek
  • ท่องไปตามทาสก์บาร์

หากต้องการเรียกแอพพลิเคชั่นที่เปิดเอาไว้บนทาสก์บาร์อย่างรวดเร็ว เราสามารถใช้คีย์ Win+T เพื่อเลือกใช้งานโปรแกรมที่อยู่บนทาสก์บาร์ได้ โดยเลือกเป็นกลุ่มของแอพพลิเคชั่น เพื่อสามารถเลือกแอพพลิเคชั่นที่ต้องการได้สะดวกกว่า
desktop-taskbar
  • ขยายการมองเห็นให้กับ Windows

หากว่าคุณเป็นคนที่สายตาไม่ดี หรือมีปัญหากับการมองบางส่วนของภาพได้ไม่ชัดเจน Windows 7 ยอมให้เราสามารถซูมภาพเข้าไปได้ เพื่อมองบางส่วนในการแสดงผลให้ชัดเจนขึ้น โดยใช้คีย์ Win++ ก็จะเป็นการใช้งานฟังก์ชั่น magnifier ในการขยายภาพทั้งหมดบนหน้าจอขึ้นมา และหากต้องการกลับสู่การแสดงผลปกติ ก็เพียงแค่ใช้คีย์ Win + -? ก็จะเป็นการย่อให้ Windows กลับมาแสดงผลเป็นปกติ เรียบร้อยเหมือนเดิม
  • เรียกใช้งาน Gadget ได้อย่างรวดเร็ว

Gadget บน Windows 7 ให้ประโยชน์ในการทำงานของเราได้อย่างมาก เช่น ปฏิทิน หรือว่านาฬิกา แต่ในขณะทำงานอยู่ มักจะไม่สะดวกที่จะต้องย่อหน้าต่างลงไป ซึ่งหากเราต้องการเรียกใช้งาน Gadget อย่างปัจจุบันทันด่วน เราสามารถเข้าถึง Gadget ได้อย่างรวดเร็วด้วยคีย์ Win+G เพื่อให้ Gadget ขึ้นมาอยู่บนท็อปของหน้าต่างการทำงานปัจจุบันได้ทันที
desktop-gadgets

ทำงานง่ายขึ้นด้วย ALT คีย์

ใน Windows 7 สามารถใช้งานคีย์ลัด เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียกใช้งาน Windows ได้อย่างมาก และ ALT ก็คือคีย์อเนกประสงค์อีกคีย์หนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้งานร่วมกับคีย์ต่างๆ เพื่อให้ทำงานร่วมกับ Windows ได้สะดวกขึ้น
เรียกใช้งานเมนูบาร์บน Explorer
ด้วยฟังก์ชั่นพิเศษที่ไมโครซอฟท์เห็นว่ามันอาจจะเกะกะ ก็เลยซ่อนเมนูบาร์ใน Explorer เอาไว้ซะ ทำให้การปรับแต่งการทำงานต่างๆนั้นอาจจะไม่สะดวก แต่เราสามารถเรียกเมนูบาร์ออกมาได้ง่ายๆ โดยกดปุ่ม alt หนึ่งครั้งก็จะเป็นการแสดงผลเมนูบาร์ขึ้นมา และเมนูบาร์นี้จะถูกซ่อนเอาไว้โดยอัตโนมัติ เมื่อเราไม่ได้ใช้งาน

เพิ่มขีดความสามารถในการใช้งาน Explorer

ใน Explorer ตัวล่าสุดของ Windows 7 เราสามารถใช้คีย์ลัด ALT ร่วมกับคีย์ต่างๆ เพื่อให้ใช้งาน Explorer ได้ง่ายขึ้น เช่น
เพิ่มขีดความสามารถในการใช้งาน-Explorer7
  • ALT+UP เป็นการกระโดดไปยังโฟลเดอร์แรกสุดคือ Desktop โดยอัตโนมัติ หรือย้อนกลับไปโฟลเดอร์รูท หากว่าเราทำงานอยู่ในโฟลเดอร์ย่อยๆ ของโฟลเดอร์รูทนั้น
  • ALT + Right คือการไล่สเต็ปไปยังโฟลเดอร์ ที่เปิดขึ้นมาล่าสุด
  • ALT + LEFT คือการย้อนกลับไปทำงานยังโฟลเดอร์ก่อนหน้าโฟลเดอร์ปัจจุบัน
  • ALT +D เป็นการทำงานกับแอดเดรสบาร์ของพาธ การทำงานปัจจุบัน
  • F4 เป็นการเรียกใช้งาน drop down menu ของแอดเดรสบาร์
  • ALT+ENTER เป็นการเรียก Properties ของไฟล์ที่เคอร์เซอร์กำลังถูกเลือกอยู่ในขณะนั้น
  • CTRL+mousewheel เป็นการเปลี่ยนขนาดของไอคอนใน explorer
  • F11 เป็นการเปลี่ยนโหมดของ explorerให้ทำงานในโหมด Full Screen

เรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นในโหมดของ Windows Compatibility เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมเก่าได้

ปัญหาใหญ่ๆของการใช้งาน Windows 7 ก็คือการทำงานร่วมกับแอพพลิเคชั่นเดิมๆ ที่เคยใช้งานได้ใน Windows XP หรือว่า Vista ซึ่งหากเราเรียกใช้งานตรงๆ อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้ Windows 7 จึงมีโหมดการทำงาน Windows Compatibility เพื่อให้นำแอพพลิเคชั่นเดิมๆที่สามารถเคยใช้งานได้ใน Windows XP หรือ Vista ให้ใช้งานได้บน Windows 7 โดยการคลิกขวาที่ไอคอนของแอพพลิเคชั่นนั้นๆ จากนั้นเลือกที่ Properties แล้วไปยังแท็บ compatibility mode และเลือก Run this program in compatibility mode for ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าให้แอพพลิเคชั่นตัวนั้น ทำงานในโหมดของ Windows เวอร์ชั่นไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น Windows XP หรือว่า Windows 95 ก็ยังไหว โดยในโหมด compatibility แนะนำว่าควรที่จะเลือก disable visual themes และ desktop composition เอาไว้ด้วย และหากว่าแอพพลิเคชั่นนั้นเป็นวิดีโอเกม ก็ควรที่จะเลือก Run this program as an administrator เอาไว้ด้วย เพื่อที่ Windows 7 จะไม่ตั้งคำถามสำหรับคุณอีก
Program Compatibility

ใช้งาน Sticky Notes เพื่อเตือนความจำ

แอพพลิเคชั่นหลายๆ ตัวได้ถูกเติมเต็มเข้ามาใน Windows 7 นี้ เพื่อให้การทำงานของผู้ใช้นั้นง่ายขึ้น โดยไม่ต้องไปหาโปรแกรมอื่นๆมาติดตั้งให้ยุ่งยากอีก เช่น Sticky Notes หรือ กระดาษเตือนความจำ ซึ่งให้เราสามารถโน้ตข้อความต่างๆ วางไว้บนเดสก์ท็อปได้สะดวก โดยเราสามารถเรียกใช้งาน Sticky Notes จากการพิมพ์ notes ที่ช่อง Search ก็จะเป็นการหาแอพพลิเคชั่น Sticky Note ให้เราเองโดยอัตโนมัติ และเราสามารถเปลี่ยนสีของกระดาษโน้ตได้ โดยการคลิกขวาที่ Sticky Note แล้วเลือกสีกระดาษโน้ตตามต้องการ? และหากต้องการเพิ่มกระดาษโน้ตก็สามารถคลิกที่เครื่องหมาย + บนกระดาษโน้ต และเมื่อต้องการปิดการใช้งาน Sticky Note ก็ให้กด Alt+F4 ก็จะเป็นการปิดการทำงานลง แต่จะเก็บข้อความทั้งหมดเอาไว้ ซึ่งเมื่อเปิดการทำงานขึ้นมาอีก ข้อความเดิมที่มีอยู่ก็จะปรากฏขึ้นมาเหมือนเดิม
Sticky Notes